Last updated: 9 มี.ค. 2563 |
วันที่ 09 มีนาคม 2563 - 15:02 น.
จากการวิจัยพบว่าเปอร์เซ็นต์ของชาวอเมริกันที่มีความเครียดกับงานอยู่ในระดับสูง และมีทีท่าว่าจะสูงขึ้นเรื่อยๆ เท่านั้น ซึ่งตามที่สถาบันความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งชาติของ CDC ระบุ ไว้ จากการศึกษาพบว่ามีคนอเมริกันจำนวนมาก อยู่ในช่วงระหว่าง 29% ถึง 40% ที่ “รู้สึกเครียดมากในที่ทำงาน”
โชคไม่ดีที่ว่าความเครียดจากการทำงานนั้นมีผลกระทบต่อสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญ ตั้งแต่ระดับที่ไม่มีผลกระทบที่เป็นอันตราย เช่น ไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ ไปจนถึงโรคที่ร้ายแรงมากขึ้น เช่น โรคหัวใจและ โรคอ้วนลงพุงหรือภาวะเมตาบอลิกซินโดรม (Metabolic syndrome) แต่เพราะว่าความเครียด (stress) ในที่ทำงานนั้นเป็นเรื่องที่พบบ่อยโดยทั่วไป การจะหางานที่มีความเครียดน้อยนั้นดูจะเป็นเรื่องยากหรือเป็นไปไม่ได้เลยสำหรับหลาย ๆ คน โดยทางเลือกที่สมเหตุสมผลและปฏิบัติได้จริง คือการใช้กลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อลดความเครียดในการทำงาน เทคนิคในการจัดการกับ”ความเครียด” ที่ควรทำ มีดังนี้
เริ่มต้นวันใหม่ของคุณอย่างถูกต้อง เหมาะสม (Start Your Day off Righ)
หลังจากต้องรับมือกับสิ่งต่างๆ เช่นในเรื่องของอาหารและการไปโรงเรียนของเด็กๆ การหลบหลีกการจราจรที่วุ่นวายและต่อสู้กับความเดือดดาลของผู้คนบนท้องถนน รวมไปถึงการต้องกลืนกาแฟลงไปแทนที่จะเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพกว่านั้น หลายๆ คนเข้ามาในที่ทำงานก็เครียดแล้วและยิ่งมีปฏิกิริยามากขึ้นต่อความเครียดในการทำงาน ซึ่งในความเป็นจริง คุณอาจรู้สึกแปลกใจที่คุณมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อความเครียดมากขึ้น เมื่อคุณมีช่วงเวลาเช้าที่แสนจะเคร่งเครียด ฉะนั้นหากคุณเริ่มต้นเช้าวันใหม่ด้วยโภชนาการที่ดีๆ มีการวางแผนที่ถูกต้องเหมาะสมและมีทัศนคติเชิงบวก คุณจะพบว่าคุณจะไม่ปล่อยให้ความเครียดในที่ทำงานมามีผลกระทบต่อตัวคุณ
มีข้อกำหนดในสิ่งที่ต้องการชัดเจน (Be Clear on Requirements)
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดภาวะหมดไฟในการทำงาน หรือเบื่องาน (job burnout) คือ ข้อกำหนดในสิ่งที่ต้องการไม่ชัดเจน หากคุณไม่ทราบว่าคุณคาดหวังอะไรหรือความต้องการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ หากมีการแจ้งเตือนเล็กน้อย คุณจะพบว่าตัวคุณเองรู้สึกเครียดมากเกินกว่าที่จำเป็น และถ้าคุณพบว่าตัวเองได้ตกอยู่ในกับดักโดยไม่รู้ว่าสิ่งที่คุณทำนั้นเพียงพอแล้วหรือไม่ การพูดคุยกับหัวหน้างานของคุณอาจจะช่วยได้ด้วยการพิจารณาความคาดหวังและกลยุทธ์ในการพบพวกเขา วิธีนี้บรรเทาความเครียดสำหรับคุณทั้งคู่ได้
อยู่ให้ห่างๆ ความขัดแย้ง (Stay Away From Conflict)
เพราะความขัดแย้งระหว่างบุคคลนั้นมีผลต่อสุขภาพกายและอารมณ์ของคุณและเนื่องจากความขัดแย้งระหว่างเพื่อนร่วมงานนั้นยากที่จะหลบหลีก เป็นความคิดที่ถูกต้องที่คุณควรหลีกเลี่ยงความขัดแย้งในที่ทำงานให้มากที่สุด ซึ่งหมายถึง อย่าจับกลุ่มนินทาเมาท์มอยคนอื่น อย่าแชร์ความคิดเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับศาสนาและการเมืองจนมากเกินไป และพยายามหลีกเลี่ยงไม่ทำให้ที่สถานที่ทำงานเป็นเรื่องเล่นๆ สนุกสนาน น่าขบขันl และพยายามเลี่ยงตัวคุณให้ห่างจากกลุ่มคนที่ไม่สามารถทำงานร่วมกับคนอื่นได้ดีในที่ทำงาน อย่างไรก็ตามหากต้องเผชิญกับความขัดแย้ง จงเรียนรู้วิธีรับมือและจัดการกับความขัดแย้งนั้นอย่างถูกต้องเหมาะสมที่ทำงานที่ไม่ได้ทำงานได้ดีกับคนอื่น หากความขัดแย้งพบคุณอยู่แล้วเรียนรู้วิธีจัดการกับมันอย่างเหมาะสม
มีระบบ ระเบียบที่ดี (Stay Organized)
แม้ว่าโดยธรรมชาติคุณเป็นคนไม่มีระเบียบ แต่การวางแผนล่วงหน้าเพื่อรักษาความเป็นระบบ ระเบียบช่วยลดความเครียดในการทำงานได้เป็นอย่างมาก การจัดเวลาของคุณให้เป็นระเบียบ มีระบบ หมายถึง มีการเร่งรีบที่น้อยลงในตอนเช้าเพื่อหลีกเลี่ยงการมาทำงานสายและการออกไปข้างนอกในตอนท้ายของวัน การทำตัวคุณให้เป็นคนมีระเบียบ ระบบนั้นมีความสำคัญมากต่อการออกห่างจากผลกระทบด้านลบของความยุ่งเหยิงและเพื่อให้การทำงานของคุณมีประสิทธิภาพมากขึ้น
สะดวก สบายๆ แบบมั่นใจ (Be Comfortable)
ความเครียดที่น่าแปลกใจในที่ทำงานก็คือ ความรู้สึกไม่สบายตัว ซึ่งคุณอาจไม่สังเกตเห็นความตึงเครียดที่คุณประสบอยู่เมื่อต้องนั่งอยู่ในเก้าอี้ซึ่งไม่สะดวกสบายในไม่กี่นาที แต่ทว่าถ้าคุณใช้ชีวิตทำงานอย่างจริงจังอยู่บนเก้าอี้ตัวนั้น เมื่อคุณทำงานคุณจะมีอาการปวดหลังและมีปฏิกิริยาต่อความเครียดมากขึ้นเพราะอาการนั้น หรือแม้แต่เรื่องเล็กๆ น้อย ๆ เช่น เสียงรบกวนในออฟฟิศก็อาจทำให้เสียสมาธิและทำให้เกิดความหงุดหงิดขึ้นได้ ดังนั้น จงทำในสิ่งที่คุณสามารถทำได้เพื่อให้แน่ใจว่าคุณกำลังทำงานในสถานที่ทำงานที่สะดวกสบาย ไร้เสียงรบกวนและผ่อนคลาย
หยุดทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกัน..แบบไม่โฟกัส (Forget Multitasking)
ครั้งหนึ่งนั้น การทำงานได้หลากหลาย หลายๆ อย่างพร้อมกันในเวลาเดียว ที่เรียกว่า มัลติทาสกิ้ง (multitasking) นั้นเคยถูกยกย่องว่าเป็นวิธีที่เยี่ยมยอดในการเพิ่มเวลาทำงานให้คนให้มากที่สุดและทำงานในหนึ่งวันแล้วเสร็จได้มากขึ้น แต่จากนั้นผู้คนก็เริ่มตระหนักว่าเมื่อพวกเขาทำงานแบบมีโทรศัพท์อยู่ที่หูและกำลังทำการคิดคำนวณในเวลาเดียวกันนั้นจะประสบกับปัญหาในเรื่องของความเร็วและความถูกต้องแม่นยำในงานของพวกเขา (ไม่กล่าวถึงเรื่องการมีสติ) การทำงานแบบ Multitasking นั้นเป็นการทำงานแบบไม่โฟกัส และทำให้เกิดความรู้สึกเหนื่อยเปลี้ยและตึงเครียดหากต้องแยกสมาธิในการทำงานสองอย่างพร้อมๆ กันในเวลาเดียวกันซึ่งไม่ได้ผลกับคนส่วนใหญ่ ทำให้ได้งานไม่มีคุณภาพขาดประสิทธิภาพ ซึ่งแทนที่จะทำงานแบบ Multitasking ให้ลองใช้กลยุทธ์ใหม่ที่เรียกว่า Chunking ที่เป็นเคล็ดลับในการอัปเกรดสมอง ความจำโดยแบ่งเป็นข้อๆ
เดินหลังอาหารกลางวัน (Walk at Lunch)
ผู้คนจำนวนมากรู้สึกไม่สบายจากการใช้ชีวิตแบบพฤติรรมเนือยนิ่ง (sedentary lifestyle) ทำกิจกรรมที่ไม่ค่อยขยับร่างกายหรือขยับร่างกายน้อยจนเกิดผลเสียต่อสุขภาพ วิธีหนึ่งที่คุณสามารถต่อกรกับพฤติกรรมนั้นและจัดการรับมือกับความเครียดในที่ทำงานในเวลาเดียวกัน คือการได้ออกกำลังกายในช่วงพักกลางวัน เช่นการเดินและอาจออกกำลังกายในช่วงหยุดพักระยะสั้น ๆ ตลอดทั้งวัน วิธีนี้จะช่วยให้คุณปลดปล่อยอารมณ์ที่เก็บกดไว้ ทำให้อารมณ์คุณร่าเริงขึ้นรวมไปถึงการทำให้มีรูปร่างที่ดีขึ้น
ควบคุมความเป็นนักสมบูรณ์แบบไม่ให้มีมากเกินไป (Keep Perfectionism in Check)
การเป็นผู้ประสบความสำเร็จในระดับสูงช่วยให้คุณรู้สึกดีกับตัวเองและเป็นเก่งในการทำงาน ในทางกลับกันการเป็นนักสมบูรณ์แบบ (perfectionist) สามารถกระตุ้นคุณและผู้คนรอบๆ ตัวคุณประสาทนิดหน่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณอาจไม่สามารถทำทุกอย่างได้อย่างสมบูรณ์แบบในงานที่ยุ่งๆ และรวดเร็ว แต่การมุ่งมั่นพยายามทำให้ดีที่สุดและยินดีกับความพากเพียรของตนเองถือเป็นวิธีการที่ดี ซึ่งจะช่วยให้คุณมีความตึงเครียดน้อยลงในการทำงานและผลลัพธ์ที่ตามมาของคุณจะดีขึ้น
ฟังเพลงคลายเครียดระหว่างอยู่บนรถ (Listen to Music on the Drive Home)
วิธีที่มีประสิทธิภาพในการผ่อนคลายความเครียดหลังเลิกงาน คือการฟังเพลงซึ่งมีประโยชน์มากมายเพราะการต้องต่อสู้กับความตึงเครียดของวันทำงานที่ยาวนานกับเพลงโปรดของคุณในระหว่างนั่งรถหรือขับกลับบ้านจะทำให้คุณมีความเครียดน้อยลงเมื่อกลับถึงบ้านและมีความพร้อมมากขึ้นที่จะปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในชีวิตของคุณไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว เพื่อน
Source:
9 Simple Ways to Deal With Stress at Work
https://www.verywellmind.com/how-to-deal-with-stress-at-work-3145273
7 ก.ย. 2564
10 ก.ย. 2564
16 ก.ย. 2564