สื่อการเรียนรู้แบบไหนรู้ที่ตอบโจทย์ของคนยุคใหม่

Last updated: 19 มี.ค. 2564  | 

วันที่ 19 มีนาคม 2563 - 10:37 น.

 

คนยุคใหม่เป็นใคร?

  • คนยุคใหม่ที่จะพูดถึงในบทความนี้คือ คนที่อยู่ใน Generation Y และ Z ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่เกิดในช่วง ค.ศ.1980 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่เติบโตมาพร้อมกับการพัฒนาของเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ต

 

สื่อการเรียนรู้แบบไหนที่ตอบโจทย์

  • ในยุคที่มีข้อมูลอยู่มากมายอยู่บนโลกดิทัล การเข้าถึงข้อมูลของคนส่วนใหญ่ จะเป็นการเข้าถึงแบบ “เลือกใช้” เพราะทุกคนมีความสนใจในการหาข้อมูลที่แตกต่างกันไป โดยที่คนยุคใหม่วัตถุประสงค์ในการเข้าถึงความรู้บนโลกออนไลน์นั่นคือ
  1. เพิ่มทักษะความรู้ในการทำงาน
  2. ทักษะชีวิต
  3. ทักษะด้านการคิดวิเคราะห์
  4. ความรู้ในชีวิตประจำวัน

ซึ่งความรู้เหล่านี้มาในรูปแบบของสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ ที่สามารถส่งเสริมการเรียนรู้และโต้ตอบหรือแชร์ความรู้ร่วมกับผู้อื่นได้

 

5 สื่อการเรียนการสอนยุคใหม่

สิ่งที่ตอบโจทย์การเรียนรู้ของคนยุคใหม่ อาจจะไม่ใช่การเรียนรู้ที่สร้างความสนุกเพียงอย่างเดียว แต่ต้องประยุกต์เอาเทคโนโลยีที่พวกเขาคุ้นเคยหรือใช้งานอยู่เสมอ เข้ามาเป็นสื่อในการเรียนการสอนด้วย ซึ่งจะช่วยให้ประสิทธิภาพการเรียนรู้ของพวกเขามีมากขึ้น

1.Blog

ผู้เรียนหลายคนเลือกที่จะหาข้อมูลในการทำการบ้านเพิ่มเติมจาก Google โดยการพิมพ์ค้นหาจะทำให้พวกเขาพบกับบล็อกที่ตอบปัญหาของพวกเขาได้ นี่จึงเป็นโอกาสที่ดีที่จะใช้งานบล็อกเป็นสื่อในการสอน โดยให้ผู้เรียนได้เข้ามาใช้ในการติดตามเนื้อหาการสอน รับการบ้าน หรืออัปโหลดไฟล์เพื่อส่งงาน นอกจากนี้ยังสามารถสร้างบล็อกที่เปิดหัวข้อสนทนา ให้ผู้เรียนได้เข้ามาใช้เป็นพื้นที่ในการแสดงความคิดเห็นของตนเอง รวมถึงแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างเพื่อนร่วมชั้นได้อีกด้วย 

2. Social Media

แน่นอนว่า Social Media เป็นช่องทางที่เชื่อมโยงผู้คนเข้าด้วยกันได้ผ่านโลกออนไลน์ ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็รู้วิธีการใช้งานกันอยู่แล้ว จึงง่ายที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในการเป็นสื่อการเรียนรู้ โดย 3 ช่องทางที่เหมาะกันการนำไปใช้ ได้แก่

Facebook

สื่อสังคมออนไลน์ที่คนใช้มากที่สุดในขณะก็น่าจะเป็น Facebook ซึ่งสามารถใช้งานได้หลากหลายวัตถุประสงค์ และผู้ใช้งานก็สามารถรับข้อมูลได้แบบเรียลทามไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน

การสร้าง Facebook Group เพื่อให้ผู้เรียนในคลาสเรียนได้กันได้เข้ามาเรียนรู้ร่วมกันก็ดูเป็นช่องทางที่ดีทีเดียว เพราะผู้เรียนส่วนใหญ่ก็รู้วิธีการใช้งานอยู่แล้ว ซึ่งในกลุ่มที่สร้างก็สามารถโพสต์สิ่งอื่นๆ นอกเหนือจากเรื่องการสั่งงานได้ เช่น
  • เรื่องราวที่น่าสนใจ
  • โน๊ตที่สรุปเนื้อหา หรือวันสอบที่ใกล้จะถึง
  • เปิดพื้นที่ให้ผู้เรียนได้แชร์โพสต์จากแหล่งที่น่าสนใจ
  • สร้างโพสต์ที่ให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นเชิงสร้างสรรค์
  • เปิดพื้นที่ให้ถามคำถามที่ไม่เข้าใจในเนื้อหาที่เรียน

YouTube
ไม่มีใครไม่ชอบวิดิโอ เพราะเป็นสื่อการเรียนรู้ที่เรียนรู้ได้ง่ายที่แล้ว นอกจากวิดิโอบน YouTube ที่เกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ ก็ยังสามารถสร้างวิดิโอที่เกี่ยวกับการเรียนรู้สนุกๆ ให้กับผู้เรียนได้กลับไปนั่งเรียนที่บ้านเองได้ หรือจะใช้เป็นช่องทางที่ให้ผู้เรียนได้ปลดปล่อยพลังความสร้างสรรค์ ในการสร้างวิดิโอที่เกี่ยวกับเนื้อหาที่กำลังเรียนรู้ก็ได้เช่นเดียวกัน

Twitter
อย่าเพิ่งมองว่า Twitter จะเป็น Social Network ที่ไม่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ แต่คนที่มีช่วงอายุอยู่ระหว่าง Gen Y และ Z นั้นมีการใช้งาน Twitter กันเป็นจำนวนมากเลยทีเดียว ลองสร้างกิจกรรมง่ายๆ ให้ผู้เรียนได้แบ่งปันความรู้กับเพื่อนร่วมห้อง ไปจนถึงผู้ใช้งานคนอื่นๆ บนโซเชียลด้วยการสร้าง Hashtag

เช่น ให้ผู้เรียนได้แบ่งปันความรู้ในหัวข้อที่กำลังเรียนผ่าน #Funfact ซึ่งเพื่อนร่วมห้องหรือคนทั่วไปก็สามารถเข้ามาติดตามความรู้ได้จาก Hashtag นี้ 

3. E-book
จะดีแค่ไหนถ้าหนังสือเรียนของทุกคนสามารถเคลื่อนไหวได้เหมือนกับในภาพยนตร์ ซึ่ง E-book หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์นั้นสามารถทำได้ นอกจากตัวหนังสือและภาพนิ่งที่รวมเป็นเล่มหนังสือแล้ว ยังสามารถใส่

  • วิดิโอ
  • เสียงประกอบ
  • กราฟิกเคลื่อนไหว 

เพื่อเพิ่มความน่าเรียนรู้และยังช่วยให้ผู้เรียน ได้เห็นภาพของเรื่องที่กำลังเรียนรู้ได้ชัดเจนมากขึ้น นอกจากนี้ E-book ยังสามารถพกพาได้สะดวกเพราะเป็นรูปแบบของไฟล์ดาวน์โหลด ที่ผู้เรียนสามารถเปิดเรียนรู้ได้จากบนสมาร์ทโฟนหรือคอมพิวเตอร์จากที่บ้านได้เอง

4. Podcasts
การให้ความรู้ในรูปแบบเสียงที่เป็น Podcast เป็นรูปแบบที่ง่ายที่สุดในการสร้างของผู้สอนเอง เนื่องจากไม่ต้องใช้ตัวหนังสือหรือภาพประกอบอะไรเลย เพียงแค่อัดเสียงในการสอนหรือให้ความรู้ จากนั้นอัปโหลดขึ้นบนช่องทางออนไลน์ ผู้เรียนก็สามารถมาเปิดฟังและเรียนรู้เองได้เลย

แต่การอัดเสียงเล่าเนื้อหาการเรียนเพียงอย่างเดียว ก็อาจจะเรียกว่าเป็นการสอนที่ให้ไม่น่าเรียนสักเท่าไหร่ ผู้สอนจึงต้องหาวิธีสอนด้วยเสียงให้มีความน่าติดตามด้วยเช่นกัน โดยสามารถใส่เป็น

  • เสียงประกอบ
  • เสียงดนตรี
  • การแบ่งช่วง เพื่อบอกว่าเนื้อหาถึงไหนแล้ว

หรือใช้รูปแบบของการพูดคุยหรือสัมภาษณ์ที่สนุกสนาน ก็จะช่วยให้ผู้เรียนมีสมาธิจดจ่อกับการฟังมากขึ้น

5. Digital Game-Based Learning
การเล่นเกมเป็นสิ่งที่คนรุ่นใหม่นั้นคุ้นเคยเป็นอย่างดี บนสมาร์ทโฟนของหลายคนก็มีเกมให้เลือกเล่นมากมาย ซึ่งวัตถุประสงค์ของการเล่นเกมนั้นก็เพื่อการสร้างความบันเทิงและพัฒนาทักษะต่างๆ

ซึ่งเมื่อนำมาใช้กับการสร้างสื่อเรียนรู้แล้ว เกมที่ถูกสร้างขึ้นมานั้นจะต้องไม่เพียงแต่สร้างความบันเทิงได้เพียงอย่างเดียว แต่ต้องสร้างการเรียนรู้ต่อได้ ทำให้เกมที่เป็นรูปแบบของ Based Learning นั้นต้องใส่ความเครียดและปัญหาให้ผู้เรียนได้ร่วมกันแก้ไข หรือสร้างการแข่งขันที่ต้องใช้ความคิดในการแก้ไขปัญหา เพื่อให้ตอบโจทย์ของการเรียนรู้ให้มากขึ้น และช่วยพัฒนาทักษะการแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างเป็นระบบด้วย


การดึงสื่อยุคใหม่มาใช้ในการเรียนรู้ในบริบทไทย
สำหรับการนำสื่อการเรียนรู้เข้ามาใช้ในห้องเรียนเพื่อตอบโจทย์การเรียนรู้ของคนไทยยุคใหม่นั้น ผู้สอนจำเป็นจะต้องเข้าใจพฤติกรรมของคนยุคใหม่ให้ดีก่อน ดูว่าพวกเขาต้องการอะไรในการเรียนรู้ รวมถึงความพร้อมของผู้เรียนเองด้วย แล้วนำกลับมาวิเคราะห์ดูว่าผู้สอนจะสามารถประยุกต์ใช้ในการสอนได้อย่างไร

จากนั้นก็ทำการเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมที่สุดมาใช้เป็นสื่อในการสอน และในขณะเดียวกันก็ต้องคอยติดตามผล ว่าสื่อเหล่านั้นมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้ต่อผู้เรียนมากแค่ไหน พร้อมทั้งแก้ไขให้ดีขึ้น ก็จะช่วย


 

 

 

 


SOURCE :

TOT

https://www.tot.co.th/sme-tips/SME-tips