3 เคล็ดลับ..เอาชนะโรคคิดว่าตัวเองไม่เก่ง (Imposter Syndrome)

Last updated: 12 ก.พ. 2563  | 

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2563 - 13:54 น.

 

คุณรู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า ไม่เก่งจริง ขี้โกง หลอกลวงโลกหรือไม่? แท้จริงแล้วคุณไม่ได้โดดเดี่ยว เป็นโรคนี้เพียงคนเดียว และนี่คือสิ่งที่คุณสามารถทำได้

คุณเคยมีความรู้สึกว่าถูกขอให้ทำสิ่งที่คุณไม่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมหรือไม่และมันเป็นเรื่องที่คิดไปก่อนที่ทุกคนจะตระหนักถึง? และยิ่งคุณประสบความสำเร็จในอาชีพหรือเป็นระดับมืออาชีพมากเท่าไหร่ คุณก็ยิ่งกลัวว่าผู้คนจะค้นพบว่าจริงๆ แล้วคุณกำลังพูดถึงอะไร? เป็นจริงหรือมายา หรือบางทีคุณอาจเชื่อว่าความสำเร็จของคุณนั้นขึ้นอยู่กับโชค ช่วงจังหวะเวลาที่แสนวิเศษ หรือแม้แต่การคิดว่าเป็นการหลอกลวงให้ผู้อื่นให้มาในจุดที่คุณอยู่ ความกลัวนี้เรียกว่า "โรคคิดว่าตัวเองไม่เก่ง” (imposter syndrome) หรือตัวเองไร้ค่า คนที่มีอาการของโรคคิดว่าตัวเองไม่เก่ง (imposter syndrome)

มักเชื่อว่าพวกเขาเป็นคนหลอกลวงโลกและความสำเร็จที่ได้มานั้นขึ้นอยู่กับโชค ความบังเอิญหรือความเข้าใจผิดของคนอื่นที่เชื่อในความสำเร็จของพวกเขา ยิ่งมีผู้คนชื่นชมเขามากเท่าใด เขายิ่งรู้สึกกลัวเท่านั้นและเป็นคำทำนายที่ตอบสนองด้วยตนเอง ในขณะที่ผู้ที่เป็นโรคคิดว่าตัวเองไม่เก่ง (imposter syndrome) มักพยายามมุ่งมั่นเพื่อให้ประสบความสำเร็จในการได้รับคำชื่นชมนั้น และเมื่อได้รับคำชื่นชมก็จะไม่เชื่อว่าเกิดขึ้นจริง ประเด็นปัญหาหลักอยู่ที่ความรู้ความชำนาญของคนในการทำสิ่งที่ถูกต้องไม่ได้เปลี่ยนแปลงความเชื่อของตัวเอง

มีผู้คนที่มีความมั่นใจภายนอกมากมายที่ได้รับอิทธิพลจากความรู้สึกหลอกลวง หรือรู้สึกตัวเองไม่เก่งไม่ดีนี้ ซึ่งบุคคลที่มีชื่อเสียงอย่างพวกดารา นักการเมืองและผู้นำจากทั่วโลกได้สารภาพอย่างเปิดเผยถึงความรู้สึกขาดความมั่นใจในความสามารถของพวกเขา โดยพื้นฐานไม่มีใครได้รับการปกป้องจากความรู้สึกของการหลอกลวง รู้สึกไม่เก่งไม่ดีนี้โดยไม่คำนึงถึงชื่อเสียงหรือประสิทธิภาพ ถึงกระนั้นก็ตาม 3 ข้อนี้ คือเทคนิคบางอย่างที่คุณสามารถใช้เพื่อช่วยต่อสู้กับความรู้สึกคิดว่าตัวเองไม่เก่ง ตัวเองไร้ค่าในตัวคุณ


1.พูดคุย แลกเปลี่ยนถึงเรื่องนี้กัน (Talk About It)

ในอาชีพของการทำงานเราจะล้อมรอบตัวเองกับคนอื่นๆ ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ที่ยินดีที่จะพูดคุยอย่างเปิดเผยเกี่ยวกับชีวิตและอาชีพการงานของพวกเขา -ซึ่งเราจะพบว่าพวกเขามักจะรู้สึกสงสัยและกดดันเหมือนกัน การแชร์ แลกเปลี่ยนความไม่มั่นใจของคุณอาจเป็นขั้นตอนสำคัญในการเอาชนะกลุ่มอาการที่คิดว่าตัวเองไม่เก่ง ไร้ค่า ลองนึกภาพดูสิว่ามันมีอิทธิพลโน้มน้าวแค่ไหนที่จะเชื่อใจผู้คนที่คิดเหมือนกันและให้พวกเขาให้กำลังใจพวกเราตลอดชีวิตและด้วยการแลกเปลี่ยนความคิดและความรู้สึกของคุณทำให้คุณสามารถส่งเสริม
ซึ่งกันและกันและให้ความคิดที่จะเอาชนะเพื่อหยุดความรู้สึกภายในที่คิดว่าตัวเองไม่เก่ง ด้อยค่า


2. เลิกเป็นคนสมบูรณ์แบบ เจ้าระเบียบในทุกๆ เรื่อง (Ditch the Perfectionism)

คนที่มีนิสัยความเป็น Perfectionist สูงนั้นไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม ในส่วนลึกๆ เขากลับรู้สึกลังเล และไม่เชื่อในความสามารถของตัวเอง ถึงได้ย้ำคิด ย้ำทำอยู่บ่อยๆ พวกคนสมบูรณ์แบบที่เรียกว่า Perfectionist มักจะรวมอยู่ในอาการของโรคคิดว่าตัวเองไม่เก่งนี้ เพราะมักจะตั้งเป้าหมายสูงในทุกๆ เรื่องที่ทำและจะเกิดการคาดหวัง มีความเครียด ความวิตกกังวลมากกว่าคนอื่นๆ ทั่วไป มักคิดว่าตัวเองไม่มีความสามารถพอที่จะทำให้สำเร็จได้ดังเป้าหมายที่ตั้งไว้

เพื่อพิชิตนิสัยความสมบูรณ์แบบ ทุกอย่างต้องเพอร์เฟตของคุณ ให้สร้างวัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกับความเป็นจริงและยอมรับว่าความผิดพลาดและความล้มเหลวนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของชีวิต จากนั้นใช้กระบวนการ post-mortem (เป็นกระบวนการที่มักจะดำเนินการในช่วงท้ายของโครงการเพื่อกำหนดและวิเคราะห์องค์ประกอบของโครงการที่ประสบความสำเร็จหรือไม่สำเร็จ) ที่มีโครงสร้างในความล้มเหลวของคุณเพื่อที่คุณจะได้ไม่เกิดความผิดพลาดนานเกินไป



3.ยอมรับคำชมเชย (Accept the Compliment)

คนที่คิดว่าตัวเองไม่เก่ง ด้อยค่า มักจะมองว่าความสำเร็จที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งปลอม ไม่ยอมรับ คิดว่าตัวเองไม่เก่งพอ ทำไม่ได้ โดยนิสัยที่จะลดระดับความสำเร็จและการลดลงนี้เด่นชัดในผู้ที่มีโรคประจำตัวนี้เพราะพวกเขาอาจกล่าวถึงความสำเร็จของพวกเขาต่อข้อเท็จจริงที่ว่ามันเป็นงานง่ายๆ ที่ทุกคนก็ทำได้และพวกเขามักพบว่าเป็นการยากที่จะยอมรับคำชมเชย และเพื่อต่อสู้กับสิ่งนี้เพียงฝึกพูดว่า "ยินดีครับ/ค่ะ" ทุกครั้งที่มีคนขอบคุณคุณสำหรับบางสิ่งบางอย่างก่อนที่คุณจะสามารถพัฒนาต่อไปได้ในสายงาน/ อาชีพของคุณ คุณจะต้องตระหนักถึงจุดอ่อนของคุณอย่างแท้จริงและยอมรับว่าคุณนั้นยอดเยี่ยมเพียงใด
.
โรคคิดว่าตัวเองไม่เก่ง (Imposter Syndrome) หรือตัวเองไร้ค่านั้นเกิดขึ้นได้ทั้งหญิงและชาย โดยเฉพาะคนหนุ่มคนสาววัยทำงานที่ทำงานแล้วมีความกดดัน เกิดความประหม่า กังวล คิดว่าตนเองทำไม่ได้ ไม่เก่งพอ ไม่มีความสามารถ ทำงานไม่สำเร็จ ด้อยค่า อาการเหล่านี้หากปล่อยให้ครอบงำไปนานๆ จะทำให้เกิดความเครียด วิตกกังวล นำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้ จึงควรจะจัดการ รู้เท่าทันกับอาการของโรคคิดว่าตัวเองไม่เก่ง (Imposter Syndrome) อย่าให้อาการของโรคนี้มาคุกคามคุณจนเกิดอุปสรรคในการทำงาน และการดำเนินชีวิต ฝึกมองในด้านบวกและจำไว้ว่าคุณไม่ได้ด้อยกว่าใคร ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ความคิด และทัศนคติและไม่สร้างความกดดันให้กับตัวเองจนมากเกินไป พึงระลึกไว้ว่าใครๆ ก็สามารถทำผิดพลาดได้

 

อ้างอิง: 

www.inc.com/Jan 31, 2020
By: Heather Wilde