Last updated: 22 มี.ค. 2564 |
วันที่ 22 มีนาคม 2563 - 11:17 น.
ในโลกแห่งเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลง อีกทั้งโควิดที่ได้เข้ามาเร่ง Adoption ของการใช้ Technology ในวงการการศึกษา ทั้งโรงเรียนและมหาวิทยาลัยต่างก็ต้องปรับตัวแบบก้าวกระโดด แล้วสิ่งเหล่านี้จะส่งผลอย่างไรกับการศึกษาและโรงเรียนแห่งอนาคต
บทความนี้จะนำเสนอ 4 เทรนด์การศึกษาสมัยใหม่ที่ทุกคนควรติดตาม เพื่อเตรียมความพร้อมพัฒนาศักยภาพของนักเรียน นักศึกษาในศตวรรษที่ 21
1. Customized Learning Experiences: การเรียนรู้แบบเฉพาะด้าน
งานวิจัยจาก Microsoft ได้รายงานว่าเด็กในศตวรรษที่ 21 นั้น มี attention span ที่สั้นลงกว่าคนสมัยก่อน จาก 12 วินาที เหลือเพียง 8 วินาที ดังนั้นการเรียนรู้ในยุคนี้จึงต้องปรับเปลี่ยนให้เข้ากับพฤติกรรมของเด็กรุ่นใหม่มากขึ้น โดยการเรียนรู้แต่ละวิชาหรือทักษะ ควรจะต้องปรับเปลี่ยนให้เป็นการเรียนรู้แบบ problem-based learning และ hands-on learning และทำให้ตรงกับความต้องการของนักเรียน เพื่อให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพ
ดังนั้นสื่อการเรียนการสอนไม่ว่าจะเป็น การใช้ audiobooks และ microlearning tools จึงเป็นสิ่งที่เข้ามาเสริมการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ ๆ อย่าง Edtech startups ไทยหลาย ๆ ตัว ก็ได้หันมาโฟกัสสร้าง solutions ต่าง ๆ เพื่อตอบโจทย์วิธีการเรียนรู้ที่เปลี่ยนไปเช่นกัน ตัวอย่างเช่น Vonder ที่พัฒนา Micro Learning ให้กับองค์กร ขณะนี้ก็กำลังพัฒนา microlearning platform สำหรับนักเรียนเพื่อใช้ในห้องเรียนด้วยเช่นกัน ทั้งยังช่วยในการส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกันในรูปแบบ gamified learning และเทรนด์ที่น่าสนใจอย่าง Edutainment ที่ช่วยสร้าง Engagement ให้เด็กขณะเรียนได้มากขึ้น
นอกจากนั้น เรายังเห็นได้ชัดกับเทรนด์การเรียนรู้ตามทักษะ มากกว่าการเรียนรู้ตามระบบหรือตามหลักสูตร เราเริ่มเห็นคอร์สเรียนเกี่ยวกับสกิล/ทักษะใหม่ ๆ เรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญหรือ Expert โดยตรง ใช้เวลาเรียนสั้นและสามารถนำทักษะนั้นมาใช้ได้ทันที แตกต่างจากการเรียนรู้ตามระบบที่ใช้เวลานาน ซึ่งการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่นั้นเป็นการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและตรงกับยุคสมัยใหม่ ถึงเวลาแล้วที่การศึกษาในระบบจะหันมาปรับเปลี่ยนรูปแบบการสอนให้ตอบโจทย์โลกสมัยใหม่มากขึ้น
2. Online Learning: การเรียนรู้ที่ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่ในโรงเรียนเพียงอย่างเดียว
สถานการณ์ COVID-19 คงทำให้หลาย ๆ ท่านทราบว่า การเรียนรู้ไม่ได้เกิดขึ้นได้ในโรงเรียนเสมอไป เด็ก ๆ สามารถเรียนได้จากบ้าน ไม่ว่าจะเป็นคอร์สสอนสดจากมหาวิทยาลับผ่าน Zoom หรือ Microsoft Teams หรือจะเป็นคอร์สในรูปแบบ on-demand learning เช่น Coursera, edX, Udemy ฯลฯ หรือการเรียนรู้ผ่านแพลตฟอร์มอย่าง การเรียนภาษาอังกฤษ หรือภาษาที่สาม จากเจ้าของภาษาโดยตรงที่อยู่อีกซีกโลก เช่น Voxy, Engoo เป็นต้น การเรียนรู้ในรูปแบบนี้ จึงช่วยส่งเสริมรูปแบบการเรียนรู้แบบใหม่คือ anywhere and anytime education ผู้เรียนสามารถเรียนได้จากทั่วโลกและทุกเวลา
แม้ว่าการเรียนออนไลน์นั้นจะมีมาสักพักแล้ว แต่ที่ผ่านมาก็ได้รับความนิยมเพียงแค่ในบางกลุ่มที่เป็น early adopters หรือกลุ่มคนที่สนใจเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ แต่ช่วง COVID-19 ที่ผ่านมา เป็นบทพิสูจน์แล้วว่าทุกคนสามารถเรียนออนไลน์ได้ จำนวนผู้เรียนออนไลน์เติบโตอย่างรวดเร็ว แผ่สู่ผู้ใช้วงกว้าง
ข้อมูลจากแพลตฟอร์ม HolonIQ เผยยอดเข้าชมสื่อการเรียนออนไลน์โต 2.5x เท่า ยอดเข้าชมในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมามีจำนวนมากถึง 500 ร้อยล้านวิวทั่วโลก
3. Digital School: การใช้เทคโนโลยีในโรงเรียนเพื่อเป็นสื่อการเรียนรู้ การสอน และการบริหารโรงเรียน
ในโลกแห่งเทคโนโลยี 5G ที่กำลังมาแรงในช่วงนี้ ผนวกกับสถานการณ์ COVID-19 ที่ทำให้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในโรงเรียนเป็นอย่างมาก นอกจากการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เป็นสื่อการเรียนการสอน เช่น การใช้ google classroom, microsoft teams, Zoom ฯลฯ อีกเทรนด์ที่เห็นได้ชัด คือ การ transform โรงเรียนให้เป็น digital school มีการใช้ online payment และการใช้ระบบคลาวด์มากขึ้น
ยกตัวอย่าง School Bright ระบบบริหารจัดการโรงเรียนดิจิตัลที่มีผู้ใช้มากถึง 500 โรงเรียนทั่วประเทศ ได้เติบโตอย่างก้าวกระโดด เนื่องจากหลายโรงเรียนต่างหันมาเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีและการเก็บข้อมูลของนักเรียนรอบด้านผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น เช่น ระบบเชคชื่อเด็ก (ขาด,ลา,มาสาย) ระบบตรวจข้อสอบ, ระบบจ่ายเงินและบริหารจัดการการใช้เงินในโรงเรียนของเด็ก ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นสิ่งที่คุณครูต้องเสียเวลาทำและต้องใช้เวลาในการส่งข้อมูลเหล่านี้ให้ผู้บริหารและผู้ปกครอง บางครั้งผ่านไปจนจบเทอมหรือจบปีจึงจะสามารถรวบรวมส่งได้ แต่เมื่อมีระบบบริหารจัดการโรงเรียนดิจิตัลเข้ามา ก็ได้ช่วยลดภาระของคุณครู อีกทั้งทำให้ผู้ปกครองสามารถเข้าถึงข้อมูลของบุตรหลานตนเองได้ง่ายและสะดวกสบายมากขึ้น ส่งเสริมการสื่อสารกันและทำงานร่วมกันระหว่างคุณครู โรงเรียน ผู้ปกครอง เพื่อให้เกิดประโยชน์กับเด็กมากขึ้นอีกด้วย
นอกจากนั้น Augmented Reality (AR) และ Virtual Reality (VR) ถือเป็นเทรนด์ที่น่าจับตามองในโลกการศึกษาเช่นกัน บริษัทยักษ์ใหญ่ เช่น Facebook ได้มีการลงทุนใน VR มากกว่า 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ตัวอย่างการนำ VR มาใช้ในการศึกษา เช่น การเรียนรู้เกี่ยวกับ anatomy ทำให้เด็กสามารถเห็นอวัยวะส่วนต่าง ๆ ภายในร่างการได้อย่างเสมือนจริง นอกจากนี้ ยังมีการนำ VR มาส่งเสริมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่ปลอดภัยมากขึ้น ทำให้นักเรียนสามารถเรียนรู้และทดลองได้ ที่สำคัญมากกว่านั้น คือ VR + AI สามารถนำมาใช้ปลูกฝังศีลธรรมในเด็กอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการนำ VR มาใช้เพื่อให้เด็กเห็นคุณภาพชีวิตของคนที่กำลังลำบาก ต้องการความช่วยเหลืออีกด้วย
ซึ่งการใช้ AR และ VR นั้น ได้มีการวิจัยออกมาแล้วว่า ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างมาก เนื่องจากเป็นการเรียนรู้แบบได้ลงมือทำเสมือนจริง ดังนั้นเราจึงจะเห็นเทรนด์การศึกษาที่มี AR และ VR เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งมากขึ้น ด้วยการพัฒนาของ 5G ที่กำลังมาแรงทั่วโลก
4. Holistic Evaluation: เมื่อการศึกษาไม่ได้ถูกกำหนดเพียงแค่คะแนน
การวัดความสามารถเด็กแบบรอบด้านนั้นถือเป็นสิ่งที่กำลังมาแรงในหลายประเทศทั่วโลก จากเมื่อก่อนที่ การรับสมัครเข้ามหาวิทยาลัยดูเพียงแค่คะแนนสอบ ตอนนี้มหาวิทยาลัยระดับโลกต่างหันมาสนใจ ทักษะอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น ความเป็นผู้นำ การทำกิจกรรมจิตอาสา การทำงานเป็นทีม หรือ การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ดังนั้นเราจึงจะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา ที่เปลี่ยนจุดโฟกัสจากการเรียนรู้ในห้องเรียน มาเป็นการเรียนรู้ทักษะนอกห้องเรียน การทำกิจกรรมจึงกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวันของเด็ก
ทั้งในไทยและระดับนานาชาติได้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงตัวชี้วัดทางการเรียนรู้ เช่น PISA ที่ได้มีการเพิ่มการประเมินใหม่ เช่น ทักษะการแก้ปัญหาในรูปแบบกลุ่ม ในประเทศไทยเองก็ได้มีการเพิ่มการประเมินทักษะศตวรรษที่ 21 ในสูตรแกนกลาง ซึ่งถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงจาก standard-based education เป็น competency-based education เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับโลกปัจจุบัน ทาง Thailand Development Research Institute (TDRI) เองก็ได้มีการทำวิจัยเพื่อพัฒนาการประเมินทักษะ soft skills และ performance ในเด็กนักเรียน
เมื่อพูดถึงทักษะ soft skills ที่กลายมาเป็น essential skills ของศตวรรษที่ 21 แล้วนั้น ตัวชี้วัดที่เปลี่ยนแปลงไปจึงทำให้เกิดการพัฒนา assesment platform ใหม่ ๆ startup หลาย ๆ ตัว ก็ได้มีการ develop product เพื่อตอบโจทย์การเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงไป ตัวอย่างเช่น Abi - by Base Playhouse ที่จะสร้าง soft skill assesment platform มาเพื่อส่งเสริมการวัดทักษะ soft skills ในเด็กและคนสมัครงานเช่นกัน
เพื่อเตรียมความพร้อมในโลกอนาคต เด็ก ๆ ควรได้รับการส่งเสริมทักษะ soft skills ให้มากขึ้น ทั้งในและนอกห้องเรียน คุณครูและผู้ปกครองควรปรับโฟกัสของตนเองจากคะแนน มาเป็นความสามารถรอบด้านของเด็ก เพื่อส่งเสริมให้เขาก้าวเดินต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
SOURCE :
by Nae Nae Montawan
https://www.disruptignite.com/blog/school-of-the-future