ฟินแลนด์ ประเทศตัวอย่างของระบบการศึกษาที่ดีที่สุดในโลก!

Last updated: 12 ก.พ. 2563  | 

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2563 - 13:54 น.



 
จากการรายงานผลของโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ (Programme for International Student Assessment) หรือ PISA 2018 ล่าสุด เผยว่าเด็กนักเรียนในประเทศฟินแลนด์สอบได้คะแนนสูงสุดใน 3 วิชาสอบ

คะแนนการอ่าน (Reading) อยู่ที่ 520 คะแนน ในขณะที่คะแนนเฉลี่ยของประเทศที่พัฒนาแล้วในกลุ่มองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) หรือประเทศกลุ่มยุโรปทั้งหลายอยู่ที่ 487 คะแนน

คะแนนวิชาคณิตศาสตร์ (Mathematics) อยู่ที่ 507 คะแนน เทียบกับคะแนนเฉลี่ยของประเทศอื่นในยุโรปได้ 489 คะแนน คะแนนวิชาวิทยาศาสตร์ (Science) อยู่ที่ 522 คะแนน แต่คะแนนเฉลี่ยของประเทศอื่นในยุโรปได้ 489 คะแนน ประเทศฟินแลนด์เป็นประเทศเล็กๆ ที่อยู่ในทวีปยุโรปตอนบน มีประชากรประมาณ 5.52 ล้านคน ซึ่งถือว่าเบาบาง แต่นั่นอาจเป็นผลดีและข้อได้เปรียบเนื่องจากฟินแลนด์มีพื้นฐานด้านชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี มีความเหลื่อมล้ำทางเศรฐกิจน้อย มีการพัฒนาการศึกษาอย่างจริงจังและสิ่งเหล่านี้เป็นดัชนีหลักที่ผลักดันทำให้ฟินแลนด์มีระบบการศึกษาที่ดีที่สุดในโลก

ดังนั้นอะไรที่ทำให้ระบบการศึกษาของประเทศฟินแลนด์แตกต่างจากประเทศอื่นที่พัฒนาแล้ว? ชีวิตนักเรียนในฟินแลนด์ต่างกับประเทศอื่นอย่างไร? และมีสิ่งใดของระบบการศึกษาในประเทศฟินแลนด์ที่เราสามารถเรียนรู้และนำมาปรับใช้กับระบบการศึกษาไทยได้?

 



ระบบการศึกษาของประเทศฟินแลนด์ให้ความสนใจและใส่ใจกับเด็กเล็กระดับอนุบาลจนถึงปริญญาเอก ซึ่งการเริ่มต้นที่ดีนั้นสำคัญมากและจะส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีเช่นกัน เด็กอายุ 6-7 ปี ในประเทศฟินแลนด์ใช้เวลาอยู่กับครอบครัวมากกว่าการเรียนที่โรงเรียนอนุบาลด้วยความเชื่อที่ว่าครอบครัว จะเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดีให้แก่เด็ก ทั้งมอบความรัก การดูแล ความรู้ ถ่ายทอดวัฒนธรรม ประเพณีให้เด็กได้ดีกว่าโรงเรียนอนุบาล แต่ฟินแลนด์เองก็ไม่ได้มองข้ามความสำคัญ ของโรงเรียนเพราะพวกเขาก็มี โรงเรียนเดย์แคร์ (daycare) สำหรับเด็กอายุ 8 เดือนถึง 5 ปี ซึ่งกฎข้อบังคับของโรงเรียน เหล่านี้ คือต้องมีสนามเด็กเล่นเพื่อ ให้เด็กวิ่งเล่นรวมไปถึงให้ ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วม

ในการเล่นได้ ซึ่งเด็กทุกคนไม่จำเป็นต้อง เข้าเรียนที่โรงเรียนเดย์แคร์เพราะผู้ปกครองเองก็สามารถจัดบ้านตนเองให้เป็นเดย์แคร์ได้ โดยทางเทศบาลเมืองจะให้การสนับสนุนด้านเงินทุนภายใต้การตรวจที่เคร่งครัด การทำอย่างนี้ก็เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองเลี้ยงดูลูกได้ด้วยตนเอง




ฟินแลนด์เป็นประเทศที่ให้ความเท่าเทียมกันทางด้านการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลไปจนถึงปริญญาเอก นั่นแปลว่าประเทศให้ความสำคัญและโอกาสแก่เด็กด้อยโอกาสทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในประเทศน้อยที่สุด ซึ่งการเรียนฟรีทำให้เกิดความเสมอภาค ไม่เกิดการเปรียบเทียบ ความเครียดให้กับทั้งตัวเด็กและผู้ปกครอง

ในฟินแลนด์เด็กอายุ 6 ปีจะสามารถเข้าเรียนที่โรงเรียน Pre-school หรือโรงเรียนเตรียมอนุบาลและอนุบาลซึ่งจะเรียนแค่ 1 ปีเท่านั้นเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียนระดับประถมศึกษาจากนั้นพออายุ 7 ปีก็จะเริ่มเรียนเกรด 1 ถึง 9 เป็นเวลา 9 ปี ซึ่งหลังจากนั้นเด็กสามารถเลือกว่าจะเรียนต่อหรือไม่ก็ได้โดยมีทางเลือก คือโรงเรียนมัธยมปลายและโรงเรียนสายอาชีพ 

 

เน้นให้เด็กนักเรียนใช้เวลาที่โรงเรียนน้อย ทำการบ้านน้อยและสอบน้อยไม่มีการเรียน 7 ชั่วโมงรวดหรือการติวเพื่อเรียนพิเศษหลังเลิกเรียน นักเรียนในฟินแลนด์เรียนวัน ละไม่เกิน 5 ชั่วโมง ซึ่งในชั้นเรียนจะมีเด็กนักเรียนห้องละ 12-20 คน ทำให้คุณครูดูแลได้อย่างใกล้ชิดเกิดปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูและนักเรียน ระบบการศึกษาของฟินแลนด์ให้ ความสำคัญกับความสุข ความสนใจของผู้เรียนโดยเน้นการเล่น การทำกิจกรรมด้านกีฬา ดนตรีและด้านอื่นๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และ ค้นพบความชอบ ความสนใจของตนเอง อีกทั้งยังมีเวลาให้กับครอบครัว แม้ว่าจะมีการสอบน้อยแต่การ ประเมินผลของนักเรียนจะถูกประเมินจากความสามารถ ทักษะในชั้นเรียนไม่ใช่ผลสอบ สิ่งเหล่านี้ทำให้ไม่เกิดการแข่งขัน แบ่งแยกและความอับอายแก่นักเรียนแต่สนับสนุนความสนใจแล ะความชอบของเด็กแต่ละคนที่ต่างกันโดยที่ไม่จำกัดค่านิยมว่าคนที่เก่งที่สุดจะต้องเป็นหมอหรือวิศวกร

 


โรงเรียนในฟินแลนด์จะจ้างผู ้อำนวยการจากภายนอกเพื่อมาบริหารงานในโรงเรียน ซึ่งหากผู้อำนวยการมีผลงานที่ไม่เป็นที่พอใจ โรงเรียนสามารถเชิญออกได้ทันทีโดยปราศจากปัญหาและพันธะที่อาจเกิดจากระบบราชการตำแหน่งหรืออำนาจ โดยผู้บริหารจะต้องมีความชำนาญด้านบริหารจริงๆ ไม่ใช่เอาอาจารย์มาเป็นผู้บริหาร ส่วนการเป็นคุณครูในฟินแลนด์นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะ จะต้องแข่งขันกันและคัดเลือกจากกลุ่มคนที่เก่งที่สุดในประเทศตำแหน่งครูประจำชั้นจะต้องจบการศึกษาระดับปริญญาโทจากคณะศึกษาศาสตร์ หากจะเป็นครูประจำวิชาจะต้องจบการศึกษาจากวิชาสอนนั้นๆ  และศึกษาต่อระดับปริญญาโทใน คณะศึกษาศาสตร์ หากจะเป็นครูการศึกษาพิเศษและครูแนะแนวจะต้องมีคุณวุฒิ ระดับปริญญาโท ด้านการศึกษาพิเศษและการแนะแนวอีกด้วยเรียกได้ว่าอาชีพครูเป็นอาชีพที่ได้รับการยอมรับ มีเกียรติ มีรายได้ดีและเป็นที่นิยมเรียนมากกว่าการเรียนแพทย์และกฏหมาย

 



นักเรียนในฟินแลนด์ได้รับอิสรภาพในการตัดสินใจเองมากมาย แม้ว่าจะเป็นเรื่องเล็กๆ ของชีวิตนักเรียนในรั้วโรงเรียน แต่การให้นักเรียนมีสิทธิ์ในการตัดสินใจและเลือกเองก็ท ำให้ชีวิตในวัยเรียนมีความสุข ไร้ความเครียด ความกังวล ไม่มีความรู้ว่าสึกถูกบังคับ หรือมีกฎเกณฑ์ครอบงำเขาอยู่  โรงเรียนในฟินแลนด์เข้าเรีย น 9-10 โมง และนักเรียนสามารถใส่ชุดอะไรมาเรียนก็ได้แม้กระทั่งใส่ ชุดนอนมาเรียนก็ได้ ซึ่งจะไม่มีใครมาตัดสินเด็กว่าผิดหรือถูก นักเรียนสามารถเลือกนั่งตรง ไหนในห้องเรียนก็ได้อย่างอิสระโดยไม่มีที่นั่งประจำ หากวันไหนสภาพอากาศดีที่นั่งของพวกเขาอาจจะกลายเป็นพื้นหญ้าแทน นักเรียนจะเรียนแค่ 45 นาทีและจะมีเวลาพัก 15 นาทีก่อนจะเริ่มเรียนวิชาถัดไป บางโรงเรียนก็ไม่ได้กำหนดวิชาเรียนซึ่งเป็นแนวทางใหม่ของการเรียนการสอน โรงเรียนเหล่านี้จะสอนนักเรียนตามสถานการณ์หรือหัวข้อต่างๆ ที่พวกเขาสนใจ เช่น หัวข้อเรื่องผู้อพยพก็จะแบ่งเป็นมุมมองด้านภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ประเพณีวัฒนธรรม นอกจากเรียนวิชาการแล้ว นักเรียนก็ยังได้เรียนทักษะ ที่จำเป็นในชีวิตประจำวันด้วย เช่นวิชาว่ายน้ำ ทำอาหาร เย็บปักถักร้อย ไอที เป็นต้น

 



สรุปแล้วจากข้อเท็จจริงหลาย ๆ ด้านสะท้อนให้เห็นถึงปรัชญาหลักของประเทศฟินแลนด์ “น้อยแต่มาก” ทุกสิ่งที่พวกเขาทำไม่ได้ทำมากกว่าประเทศอื่นๆ เลยแต่กลับน้อยกว่าประเทศอืjนๆ ด้วยซ้ำ เพียงแต่การทำน้อยของฟินแลน ด์กลับเกิดผลอย่างมาก เพราะฟินแลนด์เข้าใจและให้ความสำคัญกับนักเรียน บุคลากรในระบบการศึกษารวมไปถึงผู้ปกครองที่มีส่วนในการทำให้เกิดผลดีกับนักเรียนหรืออนาคตของประเทศฟินแลนด์เน้น การใช้ทรัพยากรมนุษย์อย่างชาญฉลาด โดยใช้คนที่มีความรู้ ทักษะในแต่ละเรื่องให้ตรงกับความต้องการของตำแหน่งงาน อีกทั้งให้การสนับสนุนเรื่องการศึกษาทำให้ผู้คนในประเทศขวนขวายและได้รับโอกาสในการศึกษาและพัฒนาตนเองมากยิ่งขึ้น ระบบการศึกษาของฟินแลนด์ทำให้การเรียนดูเป็นเรื่องที่สนุกน่าสนใจ ไม่ใช่เป็นเรื่องหน้าที่หรื อกิจวัตรประจำวันที่น่าเบื่อหน่าย

มากกว่านั้นฟินแลนด์ยังให้ “ใจ” กับระบบการศึกษาอย่างเต็มที่ทำให้ลดการเกิดความเครียด ปัญหา การแข่งขัน อุปสรรค ความเหลื่อมล้ำในสังคม เน้นความเป็นครอบครัว ความเป็นตนเอง รัฐบาลก็คำนึงถึง “ความสุข” ของผู้เรียน ผู้สอน ผู้ปกครอง ดังนั้นแนวคิด “สุขนิยม” ก็ช่วยนำพาระบบการศึกษาของฟินแลนด์ให้ประสบความสำเร็จเ พราะพวกเขาทำทุกอย่างเพราะ “ความสุข” เพื่อหวังว่าผลที่เกิดจะนำพา “ความสุข” มาให้พวกเขา

 

อ้างอิง: 

1. ทำไม? ฟินแลนด์ จึงเป็นประเทศที่มีระบบการศึกษาดีที่สุดในโลก, Campus Star - https://campus.campus-star.com/education/35723.html
2. 13 เหตุผลที่ฟินแลนด์ ประสบความสำเร็จทางการศึกษา, MThai Teen - https://teen.mthai.com/education/108419.html
3. “ฟินแลนด์” ยืนหนึ่ง ทำอย่างไร พัฒนาระบบการศึกษาจนดีที่สุดในโลก, ไทยรัฐออนไลน์ - https://www.thairath.co.th/news/foreign/1743446